หลักการ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้ 1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน 1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล2. ทฤษฎีการสื่อสาร
รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication
) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ3. ทฤษฎีระบบ
จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา4. ทฤษฎีการเผยแพร่ ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้ คือ
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ
แนวคิดของสกินเนอร์ นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
3.ทฤษฎีการรับรู้
3.ทฤษฎีการรับรู้
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันการจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมความต่อเนื่อง (continuity)
ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน
ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน
ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน
ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ
5.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom
( Bloom's Taxonomy)
6.ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
(Stimulas)
และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ
การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์
(Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง
ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด
เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of
Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant
Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner)
กล่าวว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step
by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
(Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
ได้ศึกษาหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้สรุปได้ว่า
1.หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนการจูงใจ มีอิทธิพลต่อความสนใจ
ความต้องการ และความคาดหวังของผู้เรียน
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)
ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด
ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5.การมีส่วนร่วมและการปฏิบัติ
ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่
สุด จากกิจกรรมการเรียนการสอน
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
ต้องสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที
หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
1. ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.1 ปรัชญาการศึกษากับเทคโนโลยีการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
คือ การแสวงหาความจริงว่า การศึกษาที่แท้ คืออะไร
เรามีวิธีการเข้าถึงการศึกษาที่แท้ได้อย่างไร และการศึกษาที่แท้จริงนั้นทำให้เกิดคุณค่าอะไรบ้าง ปัญหาอยู่ที่ว่า เราเชื่อว่าอะไร คือ การศึกษาที่จริงแท้ของมนุษย์ เช่น
ถ้าเราเชื่อว่า ผู้เรียนไม่มีความสามารถมาก่อน การศึกษา คือ การทำให้ผู้เรียนมีความสามารถตามที่ผู้สอนต้องการ
ก็ต้องให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน (Lat. educare = to bring up)ครูเป็นผู้กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ เราเรียกว่า ครูเป็นศูนย์กลาง (เช่น
ปรัชญาจิตนิยม ประจักษ์นิยม)
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (2524:
109) กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย
ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง
อุดมการณ์ของชีวิต อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป
ปรัชญาการศึกษาคือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ทองปลิว ชมชื่น (2529:120) ปรัชญาการศึกษา คือ
เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน
เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริง
1.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา
และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้
สรุป ปรัชญาการศึกษา คือ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2. จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
2. กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
3. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พุทธิปัญญา
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ ทฤษฎีนี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ
มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
ทฤษฎี Constructivism มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active)และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยา Constructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้แบ่งออกเป็น 2
ทฤษฎี คือ
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist
Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active
Knowing) ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า
บุคคลเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน
โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐานมากกว่า
โดยอาศัยแต่เพียงรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมหรือรับการสอนจากภายนอกเท่านั้น
และความขัดแย้งทางสติปัญญา (Cognitive Conflict) ที่เกิดจากการที่บุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้หรืออธิบายได้ด้วยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
หรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Reflection) ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restrucring) ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา
ที่เป็นปัญหาหรือขจัดความขัดแย้งทางปัญญาได้
คุณลักษณะร่วมของทฤษฎี Constructivism
1. ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4. การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีดังนี้
1) ผลการเรียนรู้มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น
แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียน
2) การเรียนรู้ คือการสร้างความหมาย ความหมายที่สร้างขึ้นจากผู้เรียนจากสิ่งที่ผู้เรียนเห็นหรือได้ยินอาจจะเป็นหรือไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของผู้สอน
ความหมายที่ผู้เรียน
สร้างขึ้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
3) การสร้างความหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง และผู้เรียนเป็นผู้กระทำกระบวนการนี้เอง (Active) ในสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบ และ
อาจเปลี่ยนแปลงสมมติฐานขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์กับผู้อื่น
4) ความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจะได้รับการตรวจสอบ และอาจจะได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ
5) ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้เอง ในการสร้างความตั้งใจในการทำงาน
การดึงความรู้ที่มีอยู่มาสร้างความหมายให้แก่ตนเองและการตรวจสอบความหมายที่สร้างขึ้นนั้น
6) มีแบบแผน (Patterns) ของความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากประสบการณ์โลกเชิงกายภาพและภาษาธรรมชาติที่มีความหมายเดียวกันในเชิงนามธรรม
3. ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม
โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ผู้ส่ง ---> ข้อมูลข่าวสาร ---> สื่อ ---> ผู้รับ
ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย
ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง
ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส
เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสาร
คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้รับสาร
คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ
ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร
ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
3.1 ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย
กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
3.2 ลักษณะและหลักการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจนภาษา" (Oral
Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal
Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written
Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง
ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual
Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์
เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
3.3 ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง
บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ
เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น
การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก
เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง
หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น
กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ
แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ
เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม
ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
3.4 กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Comunication Process) หมายถึง
การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง
และการใช้กิริยาท่าทาง
3.5 องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior
or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด
ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ
เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้
ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่
เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง
ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง
ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ
ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา
ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ
การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร
และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้
และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน
มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น
จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง
ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน
หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน
3.6 การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การสื่อสารกับการเรียนการสอนในระบบการเรียนการสอน
หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ
ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ
ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารโดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้
โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย
ครูวิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้
จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ
อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร
ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบว่า การถ่ายทอดความคิด
หรือการสื่อสารของผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง
และถ้ายังไม่ได้ผลดีจะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนแน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป
สำหรับสื่อกลางในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. วัสดุ (Material or Software) ได้แก่
วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ
ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา
ของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศเป็นต้น
1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์
แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียง แผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุ
รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or Hardware) ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่าน ของความรู้
ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว
หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์
เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์
และเครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique or Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและหุ่น
การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและนิทรรศการ
ตลอดจนเทคนิคในการเสนอบทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือ เป็นต้น
และเพื่อให้ครูสามารถเลือกและใช้สื่อในการสอนให้ได้ผลดีขอเสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกและใช้สื่อดังนี้
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.1 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย
ในรูปของพฤติกรรม ซึ่งครอบคลุมลักษณะพฤติกรรมทั้ง 3ประเภท
คือ พุทธิพิสัย (Cognitive) ทักษะพิสัย(Phychromoter) จิตพิสัย (Affective) ทั้งนี้
เพราะจุดมุ่งหมายของการสอนแตกต่างกัน ย่อมให้ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างกัน
ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์ในการเรียนการสอน
1.2 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
พฤติกรรมของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้
ถ้าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจย่อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์การเรียนการสอน
จึงควรเลือกสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจ
มีการตอบสนองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวัง
1.3 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคนวัสดุและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียนควรง่ายและอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนสื่อการเรียนการสอนนั้นจะต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับประสบการณ์ใหม่ได้เป็นอย่างดี
และไม่จำเป็นต้องใช้กับผู้เรียนทั้งชั้นเหมือนกันหมด เพราะสื่อการเรียนการสอน
และประสบการณ์บางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับผู้เรียนบางคน
ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเช่นเดียวกันกับการเลือก
1.4 เลือกรูปแบบของสื่อ
รูปแบบของสื่อเป็นการแสดงออกทางกายภาพของสื่อที่ปรากฏให้เห็น เช่น ภาพพลิก
(ภาพนิ่ง และข้อความ) สไลด์ (ภาพนิ่งที่ฉายกับเครื่องฉาย)โสตวัสดุ (เสียง และดนตรี) ภาพยนตร์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอ) วิดีทัศน์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอโทรทัศน์)
และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย(กราฟิกข้อความและภาพเคลื่อนไหวบนจอ)ซึ่งสื่อแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันและมีข้อจำกัดในการบันทึกและเสนอข้อมูลต่างกันครูควรเลือกรูปแบบของสื่อที่สามารถสนองต่อภารกิจที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการเรียนโดยพิจารณาด้วยว่าจะหาสื่อนั้นได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและความแตกต่างของบุคคลด้วย
การเลือกรูปแบบของสื่อยังต้องคำนึงถึงขนาดของกลุ่มผู้เรียนด้วย
เช่นกลุ่มใหญ่/กลุ่มเล็ก หรือเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลเป็นต้น
1.5 เลือกสื่อการเรียนการสอนที่พอจะหาได้และอำนวยความสะดวกในการใช้การเลือกสื่อการเรียนการสอนมาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อนั้นมาใช้ด้วยและไม่จำเป็นต้องใช้สื่อที่มีราคาแพงเสมอไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะหาสื่อการเรียนการสอนชนิดใดได้บ้างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นแต่เพียงเครื่องมือหรือตัวกลางที่ช่วยผ่อนแรงผ่อนระยะเวลาของครูและผู้เรียน
ให้ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
แต่การที่ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น
ก็มิใช่อยู่ที่ลักษณะชนิดและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนแต่เพียงอย่างเดียว
ความจริงอยู่ที่ครูและผู้ใช้มีความสามารถในการเลือกและใช้เป็นส่วนใหญ่ด้วย
ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาจำนวนผู้เรียนลักษณะการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
รวมทั้งการวัดผลและประเมินผลด้วยข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นระบบการวางแผนการใช้สื่อเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า ASSURE model ซึ่งมีขั้นตอน
ดังนี้
2.1 วิเคราะห์ผู้เรียน
(Analyze learners)โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป
เช่น อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2 ลักษณะเฉพาะที่นำสู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี
และเนื้อหาและทักษะที่ต้องฝึกฝน
2.1.3 รูปแบบการเรียนรู้
ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ
ความสนใจความแตกต่างในการรับรู้
2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ
พฤติกรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)การกำหนดจุดมุ่งหมายควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเขาจะต้องทำอะไรบ้าง
จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอนทั่วไปแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย
(Cognitive domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
หลักเกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective
domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย
(Psychomotordomain) หมายถึง
การเรียนจากการกระทำที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น
การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถการอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา เป็นต้น
วิธีระบบ และการวิเคราะห์ระบบ
ความหมายของระบบ
ความหมายของระบบ ระบบ คือ
ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง
ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นๆ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง
ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
วิธีการระบบที่ดี
จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล
วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้
ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
ลักษณะของระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่
โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
การวิเคราะห์ระบบ
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง
ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ (Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ (
System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา
ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล
การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้
วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม
พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4
เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง
เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่
3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน
จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า
การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีระบบ ( System Approach) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน
( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป
( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน
หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น
ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน
( Process) หมายถึง
การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิต
หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง
ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ระบบ
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีระบบที่ดี
ต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า
ข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบใดมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไปใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษา
คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา, วิเคราะห์ปัญหา
2. การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา, เลือก, ออกแบบแนวทาง
3. การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา, พัฒนา, วิธีการ
4. การทดสอบ ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
5. การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ, นำไปใช้, ควบคุม
หลักการและทฤษฎี
ทางจิตวิทยาการศึกษา
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง
ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ
ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาเหมาะสมขึ้นมาได้และการสอนของเขา
ไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ
ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ
(Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ
(Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล
(Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม
(Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง
(S-R Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ
สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
1.หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ
ของผู้เรียน
2.การพัฒนามโนทัศน์
(Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม
และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน
ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski) ได้ สนับสนุนว่า
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน
หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้ เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก
ซึ่งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น
ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช
โศภี ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า
1.โดย
ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2ใใน
การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด
เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด
เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3.เมื่อ
มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร
จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทอนไดค์ (Thorndike) เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
4.การจัดระเบียบประสบการณ์
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
8.ความชัดเจน
9.การถ่ายโยงที่ดี
10.การให้รู้ผล
การเรียนรู้จะดีขึ้น
หลักการ ทฤษฎี
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม
ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี
ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ
เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป
และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดใหม่
ๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน
ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้
ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ
และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ ภารกิจการสอนของครู
ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน
ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ
ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and
Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
บรุนเนอร์นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องมือในการขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง(DiscoveryLearning)เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุนเนอร์
ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและครูผู้สอนทั้งหลายจะต้องยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์นั้น
ๆ เป็นสิ่งสำคัญ
2. จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้นตอน
มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดมโนคติได้ดีที่สุด
3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสติปัญหาเช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น
4. การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก
การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจ
เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน
การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู)
ได้เสนอความรู้ ความคิด” นวัตกรรมการศึกษาด้วยหลักการ 4 อย่าง ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ หมายถึงให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการกระทำ
ความรู้เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนได้ทดลอง ได้ปฏิบัติ
ได้สังเกตจากของจริง ได้ทำงานร่วมกันได้ทำงานด้วยตนเองทำให้ได้ความรู้จริง
หรือความจริงสูงสุดถึงประสบการณ์ชีวิตจริงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน
มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ใช้สื่อการสอน (Instructional
Aids) หรือ โสตทัศนวัสดุ(Audiovisual Material) เพราะนักเรียนมีมาก วิทยากรต่าง ๆ ก้าวหน้าและมีมาก
ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ครูลดบทบาทผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง
ให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียนด้วยกิจกรรม นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
ไม่ใช่ครูเป็นผู้บงการ
2. การนำและการผลิตสื่อการสอนมาใช้ในห้องเรียน เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถได้พัฒนาความแตกต่างของบุคคล
และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือ ได้เรียนเต็มกำลังความสามารถและเกิดความพึงพอใจและช่วยให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิผล
คือได้ผลตามความมุ่งหมาย
3. การบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ คือ
นวัตกรรมการศึกษาได้แก่การนำแนวความคิดและวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนางานด้านการศึกษาในโรงเรียน
เช่นพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้มีความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาการจัดระบบการสอนช่วยลดปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน มีการเตรียมแผนงาน โครงการ
มีการบริหารงานตามจุดประสงค์ มีการติดตามและประเมินผลงาน และมีการปรับปรุงพัฒนางาน
โดยสมาชิกของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการจัดการศึกษาเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา
ได้แก่ หลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน การจัดสภาพแวดล้อมช่วยในการศึกษา
ตลอดจนการวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
เป็น นวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล
เป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง มีกระบวนการและวิธีการที่ได้พิสูจน์แล้ว ว่ากระทำอย่างใด
จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ สามารถวัดและประเมินสิ่งที่ต้องการได้
อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1.
ความรู้ที่เกิดจากความจำ
(knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.
ความเข้าใจ
(Comprehension)
3.
การประยุกต์
(Application)
4.
การวิเคราะห์
( Analysis) สามารถแก้ปัญหา
ตรวจสอบได้
5.
การสังเคราะห์
( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ
มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.
การประเมินค่า
( Evaluation) วัดได้
และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
·
การจูงใจ
( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
·
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
·
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
·
ความสามารถในการจำ
(Retention Phase)
·
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
(Recall Phase )
·
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
(Generalization Phase)
·
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้
( Performance Phase)
·
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน
( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว
จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
·
ผู้เรียน
( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
·
สิ่งเร้า
( Stimulus) คือ
สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
·
การตอบสนอง
(Response) คือ
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่
·
เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
·
ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
·
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์
ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
·
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน
เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน
โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
·
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน
โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
·
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา
การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
·
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม
เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
·
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
·
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
·
การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี
เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น