หน่วยที่ 5

หน่วยที่ 5 การวัดและประเมินผล

การวัดผลและประเมินผล : ความหมายและประเภท
  ความหมายและการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา เป็นการรวมกันระหว่างคำ 2 คำ คือ
การวัดหรือ การวัดผล (Measurement) และคำว่า การประเมิน หรือการประเมินผล (Evaluation)เป็นคำที่มี ความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะใช้ควบคู่กันเสมอ คือ การวัดและประเมินผล หรือการวัดผลและ ประเมินผล เพื่อให้ครอบคลุมความหมายได้ครบถ้วน   ความหมายของคำว่าการวัดผลและประเมินผล ได้มีผู้ให้ความหมายทั้งสองคำไว้ ดังนี้ 
ชวาล แพรัตกุล (2516 : 140) กล่าวว่า การวัดผลหมายถึง กระบวนการใดๆ ที่จะให้ได้มา
ซึ่งปริมาณจำนวนหนึ่ง อันมีความหมายแทนขนาดของสมรรถภาพนามธรรม ที่นักเรียนผู้นั้น มีอยู่ในตน
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2521 : 21) กล่าวว่า การวัดผลหมายถึง ขบวนการในการกำหนดสัญ
ลักษณ์หรือตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อแทนคุณภาพหรือปริมาณของสิ่งนั้นอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2535 : 15) กล่าวว่าการวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการ
กำหนดค่าตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง
ล้วน สายยศ (2527 : 1) กล่าวว่า การวัดหมายถึง การนำเครื่องมือไปกระตุ้นยุแหย่ หรือไป
เร้าสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณของสิ่งนั้น
อุทุมพร ทองอุไร (2520 : 29) กล่าวว่า การวัดจะหมายถึงกระบวนการนำตัวเลขหรือ
สัญลักษณ์มาเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือคุณสมบัติของวัตถุ คน หรือสิ่งของที่จะวัด
นอลล์ (Noll 1965 : 7) กล่าวว่า การวัดผลหมายถึง กระบวนการในการกำหนดคุณลักษณะ
ของสิ่งที่ต้องการวัดในเชิงปริมาณ โดยผลการวัดจะแสดงออกในรูปจำนวน หรือตัวเลขที่มีหน่วยคงที่
อีเบล (Ebel 1978 : 557) กล่าวว่า การวัดผลหมายถึง กระบวนการในการกำหนดจำนวน
ให้แก่แต่ละสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มสิ่งของ หรือบุคคลที่ต้องการวัด เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ
คุณลักษณะที่จะวัดของสิ่งของหรือของบุคคลนั้น ๆ
   จากความหมายของการวัดผลที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การวัดผล คือ กระบวนการกำหนดตัวเลข
ให้กับสิ่งที่ต้องการจะวัด โดยค่าที่ได้สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของคุณลักษณะนั้นอย่างมีประ
สิทธิภาพ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล
   การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง)
วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
    การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
ความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
      การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผล
เช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม. ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก
ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา


  บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่อง
ใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรง
จุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียว
กันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความ
สามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า
มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ
มีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
การวัดประเมินทางการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา เป็นการรวมกันระหว่างคำ 2 คำ คือ
การวัดหรือ การวัดผล (Measurement) และคำว่า การประเมิน หรือการประเมินผล (Evaluation)เป็นคำที่มี ความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะใช้ควบคู่กันเสมอ คือ การวัดและประเมินผล หรือการวัดผลและ ประเมินผล เพื่อให้ครอบคลุมความหมายได้ครบถ้วน   ความหมายของคำว่าการวัดผลและประเมินผล ได้มีผู้ให้ความหมายทั้งสองคำไว้ ดังนี้ 
       จากความหมายของการวัดผลที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การวัดผล คือ กระบวนการกำหนดตัวเลข
ให้กับสิ่งที่ต้องการจะวัด โดยค่าที่ได้สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของคุณลักษณะนั้นอย่างมีประ
สิทธิภาพ

การวัดผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale
2. วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale
การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ
2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
การวัดประเมินผล
Poisepoise เคยได้รับการอบรมเรื่องการประเมินผล โดยอะกิ๊บเป็นวิทยากร และได้รับเอกสารฝึกอบรมมาจากอะกิ๊บด้วย เห็นว่าเป็นประโยชน์ดี เคยสรุปเอาไว้ภายหลังการอบรมเสร็จ คิดว่ามีประโยชน์ดี เผื่อนาน ๆ ไปลืมก็จะได้ดึงจากบันทึกมาดูได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ต้องขอบคุณอะกิ๊บมา ณ ที่นี้ด้วย ที่เสียสละเวลามาจัดอบรมให้พร้อมเอกสารนะคะ
การประเมินผล หมายถึง การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบเพื่อประเมินว่าโครงการนั้น ๆ บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายเพียงใด มีประสิทธิภาพหรือไม่มี 4 แบบ คือ
1.            การประเมินโครงการเบื้องต้น (Preliminary Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเช่น ประเมินว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ หรือประเมินผลกระทบต่างๆ เช่นผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง ระบบนิเวศ ชุมชน
2.            การประเมินการปฏิบัติงาน หมายถึงประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เพื่อประโยชน์ดังนี้
          2.1                เพื่อทบทวนกิจกรรมในโครงการ
          2.2                เพื่อเพิ่มกิจกรรมเพิ่มเติม
          2.3                เพื่อพัฒนาแบบสอบถาม
          2.4                เพื่อหาวิธีวัดผล
          2.5                เพื่อเขียนรายงานและข้อเสนอแนะ
          2.6                เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ
3.            การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ (Summative Evaluation) เป็นการนำเอาการประเมินแบบ Formative evaluation คือประเมินระหว่างปฏิบัติ มาทำการสรุป เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และเขียนรายงานนำเสนอผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจ
4.            การประเมินประสิทธิภาพของโครงการ (Effective evaluation) เป็นการประเมินแบบใหม่เพื่อลดข้อด้อยแบบการประเมินแบบเก่าโดยมีการเน้นดูเรื่องของ
-         ผลิตผลเปรียบเทียบกับ ค่าใช้จ่าย
-         ดูว่าผลผลิตที่ได้เกิดจากปัจจัยทุนหรือไม่
-         เปรียบเทียบดูผลผลิตที่เกิดขึ้นเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่มีต้นทุนใกล้เคียงกัน

หลักการของการประเมินผล
1.            มีความจำเป็นสำหรับโครงการเป็นอย่างยิ่ง
2.            เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุง
3.            เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ
หลักการประเมินผล ใช้ CIPP model หมายถึงการประเมินตาม
 1.                  Context
2.                  Input
3.                  Process
4.                  Product
 การประเมินโครงการต้องมีการเขียนโครงการประเมินผล ซึ่งประกอบไปด้วย
1.            ชื่อโครงการ
2.            ปีที่ประเมิน
3.            ชื่อผู้เสนอโครงการ
4.            ความเป็นมาและเหตุผลที่ต้องประเมิน
5.            วัตถุประสงค์
6.            ขอบเขตการประเมินผล
7.            คำจำกัดความ
8.            ข้อจำกัดในการประเมิน
9.            ข้อยกเว้นในการประเมิน
10.        แนวทางการดำเนินงาน การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง
11.        งบประมาณที่ใช้
12.        การเผยแพร่ผลการประเมิน
13.        ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
14.        ปฏิทินการดำเนินงาน
15.        บรรณานุกรม
16.        ภาคผนวก
รายงานการประเมินผลประกอบด้วย

1.            บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
2.            บทนำ
3.            ระเบียบวิธีปฏิบัติ
4.            ผลการดำเนินงาน
5.            สรุปผล/ข้อเสนอแนะ
6.            บรรณานุกรม
7.            ภาคผนวก


จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่อง
ใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรง
จุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียว
กันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความ
สามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า
มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร




อาจแบ่งความสำคัญได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด
2. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
3. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน
4. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน
5. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
6. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไป
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผล
1. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา
2. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด
3. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรม


มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับ
สิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น
การจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย
สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร
หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ
มีความยุติธรรม

5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น